Friday, September 5, 2008

กีฬาว่ายน้ำ


กีฬาว่ายน้ำเป็นกีฬาที่นิยมกันมากในปัจจุบัน ท่าว่ายน้ำมีอยู่ด้วยกัน 4 ท่า
1.ท่าฟรีสไตย์
2ท่ากรรเชียง
3.ท่าผีเสื้อ
4.ท่ากบ
เทคนิคท่ากบ ( อย่างย่อ )
ท่ากบเป็นท่าที่ ผู้ชื่นขอบการว่ายน้ำเล่นๆ ชอบว่ายมากที่สุด เพราะเป็นท่าที่ดูแล้วเป็นการว่ายที่สบาย ๆ ไม่ต้องออกแรงมากมายนัก แต่การว่ายท่ากบในการแข่งขันนั้นต้องมีการฝึกฝนและมีความเร็วเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อเป็นเช่นนี้เรื่องที่ดูว่าสบายก็คงไม่สบายเสียแล้ว การว่ายท่ากบเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร เพราะการว่ายให้เร็วและถูกต้องไม่สามารถทำได้ทุกคน ต้องขึ้นอยู่กับการฝึกซ้อม สมรรถภาพของร่างกาย การที่กล่าวเช่นนี้เพราะการว่ายท่ากบต้องอาศัยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของช่วงล่างตั้งแต่สะโพกจนถึงข้อเท้า อีกทั้งมีโครงสร้างร่างกายที่เหมาะสม เช่น ข้อเท้าและข้อพับที่หัวเข่าต้องมีความยืดหยุ่นและมีความแข็งแรงสูง จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ จะทำให้ท่ากบไม่ดีเท่าที่ควรคือ ขาดพลังที่จะส่งตัวไปข้างหน้า การว่ายท่ากบแบบใหม่ที่เรียกกันว่าแบบ " ลูกคลื่น" นั้นเป็นการว่ายแบบยกสะโพกคล้ายกับการยกสะโพกของท่าผีเสื้อ ซึ่งเป็นการถ่ายน้ำหนักตัวให้เหมาะสมกับการเคลื่อนไหวในการว่าย ด้วยอาศัยการเคลื่อนตัวแบบ " แอร์โร่ ไดนามิก " การใช้ แขน ว่ายท่ากบที่ถูกต้อง ห้ามยกแขนพ้นผิวน้ำ การใช้แขนดึงน้ำต้องดึงพร้อมกันทั้งสองข้างเทคนิคการใช้แขนต้องเหยี่ยดแขนไปข้างหน้าให้สุด มือปะกบติดกันเสียบในระดับผิวน้ำ หลังจากนั้นให้ปาดแขนออกโดยใช่ฝ่ามือกดน้ำในลักษณะเฉียง 45 องศา จากผิวน้ำ เทคนิคสำคัญในการดึงน้ำจังหวะที่ 1 ข้อมือต้องกว้างกว่าข้อศอก สองการดึงน้ำจังหวะที่สอง เป็นการล็อกข้อศอกให้อยู่กับที่ โดยให้ฝ่ามือปาดน้ำเข้าหากัน ส่วนการใช้แขนจังหวะสุดท้ายเป็นการรวบข้อศอกเข้าหากันอย่างรวดเร็ว พร้อมกับเหยียดแขนพุ่งไปข้างหน้า การใช้ เท้า จังหวะแรกเป็นการพับเข่า ที่สำคัญต้องไม่เป็นการชักเข่า ส่วนจังหวะที่สอง เป็นการแบะฝ่าเท้าออกโดยล็อกเข่าให้อยู่กับที่ และในจังหวะสุดท้ายให้ถีบฝ่าเท้าออกพร้อมทั้งรวบฝ่าเท้าเข้าหาปะกบกันอย่างรวดเร็ว เทคนิคที่สำคัญในการใช้เท้าอยู่ที่จังหวะถีบสุดท้ายต้องมีความเร็วหรืออัตราการเร่งของการใช้เท้าเข้ามาเกี่ยวข้องกันด้วย ตำแหน่งของ ลำตัว ในการว่ายท่ากบท่าปกติจะเอียงประมาณ 15 องศา จากผิวน้ำ แต่การว่ายท่ากบแบบลูกคลื่นหรือแบบใหม่นี้ ตำแหน่งลำตัวค่อนข้างจะขนานกับผิวน้ำ โดยอาศัยการถ่ายน้ำหนักเช่นเดียวกันกับท่าผีเสื้อ การว่ายท่ากบเป็นท่าที่ว่ายช้าที่สุดในบรรดาท่าว่ายทุกท่า หากปฏิบัติตามข้างต้นแล้วก็มิใช่ว่า จะต้องได้รับชัยชนะ แต่เป็นเพียงทำให้การว่ายท่ากบที่ดีขึ้นเพราะว่ายให้ได้ชัยชนะนั้นต้องมีองค์ประกอบอีกหลายอย่าง เช่น การออกตัว การกลับตัว การเข้าเส้นชัยสิ่งต่าง ๆ นี้จะได้มาก็จากผู้ฝึกสอนชี้แนะ และตัวนักกีฬานำไปปฏิบัติและฝึกซ้อมอย่างเคยชินจนชำนาญ
การฝึกฝนท่าว่ายที่ถูกต้องเสียแต่แรก ดีกว่ามาแก้ให้ถูกในภายหลังเทคนิคการว่ายน้ำ
Butterfly Stroke
เทคนิคการว่ายท่าผีเสื้อ ( อย่างย่อ )
Butterfly คือท่าว่ายที่ยากของการที่จะเรียนรู้ท่าว่ายนี้ต้องการกล้ามเนื้อจำนวนมากและข้อต่อและเคลื่อนไหวของไหล่และช่วงหลังถึงสะโพก การว่ายน้ำท่านี้ต้องการจังหวะที่ดีของแขนและการเตะขาและจังหวะการหายใจ ( breathing) Flippers ( swimfins ) คือผู้ช่วยซึ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ที่จะว่ายน้ำท่าผีเสื้อ ( butterfly stroke ) การฝึกฝนและการเรียนรู้ในการหมุนหัวไหล่จะช่วยในการว่ายให้ดีขึ้น ถ้าคุณมีความรู้สึกที่จะดูการว่ายของปลาโลมา, สิ่งนั้นคือท่าว่ายสำหรับคุณ เพราะเมื่อคุณดูนักว่ายน้ำว่ายท่าผีเสื้อและรู้สึกมีชีวิตชีวาและมีจินตนาการการว่ายของปลาโลมา นั่นแหละคุณกำลังจะเป็นนักว่ายน้ำท่าผีเสื้อที่ดีในอนาคต

๏ เส้นทางนำร่องการว่าย butterfly ดังต่อไปนี้ การว่ายพร้อมทั้งการเรียนรู้ในความคิดของคุณจะช่วยคุณที่จะพัฒนา สไตล์โดยธรรมชาติด้วยตัวเองของคุณ .และที่สำคัญที่สุดคือความรู้ของการลื่นไหลของการว่ายของคุณเอง
๏ สิ่งที่ดีคือการเฝ้าดูนักว่ายน้ำที่มีความสามารถในท่าผีเสื้อ ว่ายเหนือน้ำและใต้น้ำ
๏ รักษาการเป็นลูกคลื่นในส่วนของร่างกายทั้งหมดเป็นจังหวะลูกคลื่น
๏ ว่ายโดยปราศจาก Flippers โดยว่ายแบบปลาโลมา หรือที่เราเรียกว่า Stream Line ฝึกในระยะ 10 - 15 เมตร
๏ ว่ายโดยใช้ Flippers และใช้ขาแบบปลาโลมาแขนเหยียดตรงไปด้านหน้าและอีกครั้งใช้แขนแนบลำตัว อย่างละครั้ง ในเทียวไปและกลับ
๏ ฝึกทำแขนท่าผีเสื้อ ( butterfly ) ข้างหน้ากระจก
๏ ฝึกหายใจเมื่อแขนของคุณกำลังผ่านสะโพก
๏ ร่างกายของคุณ จะปฏิบัติตามหัวของคุณ ในการที่จะรักษาการเป็นลูกคลื่น
๏ เตะขาสองครั้งต่อการหมุนแขนหนึ่งครั้ง
๏ อย่าเกร็งแขน ! ในจังหวะยกขึ้นเหนือน้ำและลงในน้ำ
๏ เก็บหน้าอกของคุณในระดับที่ต่ำในน้ำ, ยกคางของคุณเพื่อที่จะได้รับอากาศ
คุณต้องฝึกทำจนเคยชิน และเมื่อคุณมีความรู้สึกว่าตัวคุณว่ายเหมือนปลาโลมา คุณก็จะเป็นนักว่ายน้ำท่าผีเสื้อที่ยอดเยี่ยม
อย่าลืมการฝึกท่าผีเสื้อเป็นท่าที่ยากและต้องใช้พลังงานและความอดทนที่สูง หวังว่าคุณจะเป็นอีกคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในไม่ช้านี้
Freestyle Stroke
เทคนิคการว่ายท่าฟรีสไตล์ ( อย่างย่อ )

Freestyle คือ การว่ายน้ำที่ไม่จำกัดแบบหรือท่า ในการแข่งขันคุณจะว่ายแบบใดก็ได้ แต่การว่ายฟรีสไตล์เป็นการว่ายที่เร็วที่สุดการว่ายแบบฟรีสไตล์เป็นอย่างไร ? การว่ายท่านี้เป็นการนอนคว่ำลงในน้ำ หมุนแขนของท่านผ่านใต้น้ำและเหนือน้ำอย่างต่อเนื่อง ขาของท่านต้องเตะขึ้นลงอย่างสม่ำเสมอ และหายใจเมื่อท่านหมุนหน้าไปด้านข้าง มีคำพูดที่ว่าการว่ายท่านี้ง่ายมาก แต่มันก็ยังมีอีกเป็นจำนวนมากที่เราจำเป็นต้องรู้
ดูที่รูปผ่านด้านล้างนี้ ก่อนที่เราจะเริ่มแนะนำการว่ายท่าฟรีสไตล์ให้แก่คุณ

เส้นทางนำร่องการว่ายน้ำไม่จำกัดแบบหรือท่า (Freestyle) ดังต่อไปนี้ เมื่อออกไปปฏิบัติจริงแล้ว การว่ายและการเรียนรู้ในความคิดจะช่วยให้คุณพัฒนาสไตล์ได้โดยธรรมชาติด้วยตัวเองของคุณ และที่สำคัญอย่างมากคือการเคลื่อนตัวไม่ให้เกิดการต้านน้ำหรือเกิดการต้านน้ำน้อยที่สุด
๏ นอนอยู่ในน้ำ ถ้าคุณทำได้ก็เป็นสิ่งที่ดี
๏ ให้น้ำเป็นตัวช่วยพยุงคุณไม่ให้จม
๏ ทำตัวสบาย ๆ อย่าเกร็ง
๏ เคลื่อนตัวไปข้างหน้า จัดลำตัวให้ลอยอยู่ผิวน้ำ
๏ วางหน้าอกคุณลงใต้น้ำและก้มหัวลงต่ำเล็กน้อย ตัวคุณจะค่อย ๆ สมดุลย์การนอนคว่ำและเคลื่อนตัวไปข้างหน้าจะ เป็นการช่วยสร้างสมดุลย์
๏ พัฒนาความรู้สึกที่มือและแขนของท่านเมื่อผ่านลงไปใต้น้ำ
๏ เอียงหัวไหล่ลงเล็กน้อยเมื่อแขนและมือข้างนั้นกำลังผ่านหรือผลักน้ำ อย่าทำตัวตรงแบนราบตลอดเวลา
๏ ทำการว่ายแบบช้าแต่ดึงแขนยาวในขณะที่เริ่มกับมัน
๏ การเคลื่อนที่ผ่านน้ำคุณจำเป็นต้องเหยียดแขนและมือไปข้างหน้า
๏ หายใจออกอย่างมุ่งมั่นในน้ำ และสร้างระบบการหายใจที่ต่อเนื่อง
๏ เก็บหูของคุณไว้ในน้ำขณะที่คุณกลั่นหายใจและดูลงแขนของคุณ .
๏ ใช้ไหล่ของคุณที่จะนำมาแขนของคุณและมือของคุณ พุ่งแทงน้ำไปข้างหน้า
๏ เตะขึ้นและลง โดยเตะจากตะโพกของคุณลงถึงเท้าของคุณ

กลยุทธเพื่อชัยชนะ ( RACE STRATEGIES ) จากหนังสือ COMPETITIVE SWIMMING By Mark Schbert แปลและเรียบเรียงโดย ยงยุทธ พงษ์วานิต
ในการแข่งขันว่ายน้ำทุกครั้ง คุณจะต้องมีการตระเตรียมแผนและวางกลยุทธ์ของการว่ายน้ำของคุณว่าควรจะเป็นอย่างไร กลยุทธ์ต่างๆจะเปลี่ยนไปตามประสบการณ์ ความสำคัญของรายการแข่งขันที่คุณเข้าร่วม ความพร้อมของสภาพร่างกาย และอีกหลายๆปัจจัย และที่สำคัญคือกลยุทธ์ในการแข่งขันได้กลายเป็นเรื่องจำเป็นของนักว่ายน้ำแต่ละคน ซึ่งพวกเขาจะต้องพิจารณาดูว่า กลยุทธ์แบบใดที่จะเหมาะ กับตัวเขาและสภาพแวดล้อมในการแข่งขัน นักว่ายน้ำที่ดีจะต้องฝึกฝนตัวเองให้สามารถใช้กลยุทธ์ได้หลายรูปแบบ และอย่างมีประสิทธิภาพ ในประวัติการแข่งขันว่ายน้ำ มีนักว่ายน้ำที่ยิ่งใหญ่หลายคนไม่สามารถเอาชนะในรายการใหญ่ๆได้ ทั้งนี้ก็เพราะพวกเขาลงแข่งขัน ด้วยกลยุทธ์เพียงอย่างดียว ในขณะที่คู่แข่งของพวกเขารู้ว่ายังมีกลยุทธ์บางอย่างที่สามารถนำมาใช้อย่างได้ผลเมื่อพบกับคู่แข่งที่มีความสามารถ ใกล้เคียงกัน (นักว่ายน้ำที่มีความแข็งแกร่งน้อยกว่าก็สามารถเอาชนะนักว่ายน้ำชั้นนำได้โดยการนำเอากลยุทธ์ต่างๆมาใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม) ในการแข่งขันที่สำคัญๆ นักว่ายน้ำหลายคนมักจะตั้งเป้าหมายหลักไว้หนึ่งหรือสองอย่างคือ เป้าหมายแรกจะต้องเข้าที่หนึ่งให้ได้ หรืออย่างน้อยก็ต้องไม่เกินที่สาม(ในบางกรณีนักว่ายน้ำอาจจะว่ายตามกลยุทธ์ที่วางไว้ เพื่อให้ได้ที่สามหรือที่เท่าไรก็แล้วแต่ ขอแค่เพียงพอ ที่จะให้ตัวเองสามารถเข้ารอบสุดท้ายได้ โดยที่ตัวเองเสียพลังงานไปน้อยที่สุด) เป้าหมายที่สองคือว่ายเพื่อให้ได้เวลาดีที่สุดของตัวเอง สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการนำเอากลยุทธ์ทั้งสองแบบดังกล่าวข้างต้นมาใช้ก็คือ การที่อาจจะไม่ประสบความสำเร็จสูงสุดในการแข่งขัน เช่นนักว่ายน้ำซึ่งพยายามว่ายอย่างดึงๆเพียงเพื่อให้พอเพียงต่อการเข้ารอบสุดท้าย การใช้กลยุทธ์แบบนี้ อาจทำให้ตัวเองเสียโอกาสในการทำเวลา ที่ดีที่สุดเพื่อเป็นสถิติของตนเอง ส่วนนักว่ายน้ำที่พยายามจะทำเวลาให้ได้ดีที่สุดทุกครั้งที่ลงแข่ง ก็อาจจะไม่ชนะ ต้องพ่ายแพ้ใน รอบสุดท้ายเนื่องจากเหนื่อยล้าเกินไป เราจะมาอธิบายถึงกลยุทธ์และวิธีการต่างๆที่นักว่ายน้ำสามารถนำเอาไปผสมผสานใช้ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล กลยุทธ์ในการทำเวลาให้ได้ดีกลยุทธ์นี้มีอยู่ 3 แบบที่เป็นที่ยอมรับ สำหรับนักว่ายน้ำที่ต้องการทำเวลาให้ได้ดีที่สุด ซึ่งทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับ ความแข็งแกร่งของแต่ละคน และตารางการฝึกซ้อมอย่างมีระบบด้วย
แบบที่ 1 : การใช้สรีระหรือร่างกาย
นักสรีรศาสตร์จะบอกคุณถึงวิธีการหนึ่งที่จะทำให้คุณว่ายได้เวลาที่ดีที่สุด นั่นก็คือ การควบคุมจังหวะการว่ายอย่างสม่ำเสมอ ในทางวิทยาศาสตร์พบว่าในการว่ายแทบทุกระยะทาง เว้นแต่ระยะทางที่สั้นมากๆ การควบคุมจังหวะการว่ายให้สม่ำเสมอ ด้วยความเร็ว ที่ปานกลางตลอดระยะทาง จะทำให้พลังงานถูกใช้ไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งจะมีผลให้ได้เวลาดีที่สุดด้วย การทดลองด้วยตัวคุณเอง จะบอกคุณได้ว่ากลยุทธ์นี้เหมาะสำหรับคุณหรือไม่
แบบที่ 2 : การใช้จิตวิทยา
นักว่ายน้ำจำนวนมาก โดยเฉพาะนักว่ายน้ำระยะสั้น ชอบที่จะว่ายอย่างเร็วในช่วงแรก พวกเขาทำอย่างนี้ด้วยเหตุผลหลายๆอย่าง เช่น เพื่อให้ได้ว่ายในน้ำที่นิ่งสงบไม่มีคลื่นเพราะอยู่หน้าคนอื่น หรือเพื่อรีบให้พ้นจากคู่แข่งที่ว่ายอยู่ใกล้ๆจะได้ไม่วอกแวก และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อให้ตัวเองอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดเมื่อการว่ายผ่านไปแล้วครึ่งทาง ในการแข่งขันระยะสั้นส่วนใหญ่แล้วนักว่ายน้ำที่ต้องการทำเวลาให้ได้ดีที่สุด จะพยายามออกตัวในช่วงแรกให้เร็วที่สุด
แบบที่ 3 : กึ่งจิตวิทยา
ในการแข่งขันว่ายน้ำระยะยาว หรือแม้แต่ระยะ 200 หลาหรือสั้นกว่า นักว่ายน้ำบางคนชอบที่จะว่ายแบบช้าไว้ก่อนเพื่อที่จะได้ทำเวลาให้ดีที่สุด การว่ายแบบช้าไว้ก่อนหมายถึงการว่ายโดยใช้เวลาในช่วงหลังสั้นกว่าช่วงแรก กล่าวคือในช่วงแรกจะว่ายแบบออมแรงโดยไม่ค่อยคำนึงถึงเวลามากนัก แต่จะมาเร่งในช่วงหลังโดยใช้แรงที่มีเหลืออยู่ทั้งหมด บ่อยครั้งที่ผลการว่ายของทั้งสองแบบคือทั้งแบบที่ว่ายอย่างสม่ำเสมอตลอดทางกับแบบที่ว่ายช้าก่อน ได้ผลออกมาเหมือนกัน แต่ในแง่ของจิตวิทยา บางครั้งดูเหมือนว่าผู้ตามมีความสดมากกว่าผู้นำโดยเฉพาะในครึ่งหลังของการแข่งขัน และพร้อมที่จะเอา ชนะได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้านักว่ายน้ำคนนั้นมีความมั่นใจและมุ่งมั่นสูง ก็จะเอาชนะได้ด้วยกลยุทธ์แบบนี้
วิธีการทั้ง 3 แบบข้างต้นนั้นได้รับการทดสอบเวลา และพบว่าเหมาะสมสำหรับการว่ายเพื่อให้ได้เวลาดีที่สุด อย่างไรก็ตาม การฝึกซ้อมและ เตรียมสภาพร่างกายให้เหมาะสมกับการแข่งขัน รวมทั้งการจำลองสถานการณ์ให้คล้ายกับการแข่งขันในการฝึกซ้อม เป็นสิ่งที่สำคัญมาก และผู้ที่เตรียมตัวได้ดีที่สุดก็จะมีโอกาสได้รับชัยชนะ
กลยุทธ์เพื่อชัยชนะ
มื่อนักว่ายน้ำลงแข่งขันในรายการที่ตัวเองคิดว่าชัยชนะสำคัญยิ่งกว่าการทำสถิติเวลาก็จะต้องมีการมีการวางแผนอย่างรอบคอบ 3 กลยุทธ ดังกล่าวข้างต้นก็สามารถนำมาใช้ได้อย่างได้ผล แต่ว่าในแต่ละกลยุทธ์ก็จะมีข้อจำกัด กลยุทธ์ในการควบคุมการว่ายให้สม่ำเสมอจะมีข้อดีที่ทำให้ คู่แข่งที่ไม่แข็งแกร่งพอ หมดแรงได้ในการที่จะพยายามว่ายตามจังหวะของเรา มันเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสำหรับนักว่ายน้ำที่คิดว่าตัวเองมีสภาพ ร่างกายที่แข็งแกร่งและพร้อมกว่าคู่แข่งในทางกลับกัน ก็อาจมีความเสี่ยงเมื่อต้องเจอกับคู่แข่งที่เตรียมตัวมาดีกว่าหรือเท่าๆกับเรา เพราะจะเป็น การเปิดโอกาสให้เขาว่ายอย่างสบายตามจังหวะของเรา และเร่งแซงเราเข้าเส้นชัยไปในช่วงสุดท้าย นักว่ายน้ำส่วนใหญ่พบว่าการว่ายตามคู่แข่ง อย่างใกล้ชิดง่ายกว่าการว่ายนำผู้ว่ายนำในการแข่งขันที่สูสีกันมาก จะต้องใช้พลังงานมากกว่า บวกกับความกดดันทางจิตใจที่มากกว่า ส่วนกลยุทธ์ในการออกนำก่อนก็สามารถใช้ได้ดีมากเมื่อพบกับคู่แข่งที่เสียขวัญง่ายกับความเร็วต้นของเรา แต่ก็อาจจะแย่ไปเลยก็ได้ ถ้าบังเอิญ คู่แข่งเราเป็นประเภทเหนียวแน่นกัดไม่ปล่อย การแข่งขันรายการสำคัญบางครั้ง เป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ที่ชอบออกนำก่อนกับผู้ที่ช้าไว้ก่อน ผู้ที่ช้าไว้ก่อน มักจะเป็นผู้ที่มีความแข็งแกร่งทนทาน และมีความมั่นใจในความสามารถของเขาที่จะค่อยๆ เพิ่มจังหวะความเร็วในการว่ายขึ้น เพื่อที่จะเอาชนะคู่แข่งได้ในตอนท้าย แต่บางครั้งการวางแผนอาจผิดพลาดได้ และปล่อยให้ผู้ออกนำซึ่งก็อาจจะใช้กลยุทธ์เดียวกัน (แต่ใช้จังหวะในการว่ายที่เร็วกว่า) นำห่างเกินไป ในช่วงสุดท้ายก็เลยต้องมาเร่ง
สปริ้นท์กันแหลก
วิธีการว่ายอีกแบบสำหรับการว่ายระยะกลางหรือระยะยาว คือวิธีการว่ายแบบเร่งๆผ่อนๆ หมายถึงการเร่งว่ายเป็นช่วงๆ เพื่อทดสอบดูปฏิกริยาของคู่แข่ง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงคุมพลังงานของตัวเองไว้ และเมื่อพบว่าคู่แข่งเริ่มอ่อนแรงลง เราก็จะเริ่มเร่งยาวๆ อีกช่วงหนึ่งเพื่อให้นำห่าง แล้วก็ผ่อนและรักษาตำแหน่งนั้นไว้จนถึงเส้นชัย มีรูปแบบการว่ายที่มีประสิทธิภาพอีกแบบหนึ่งคือ แบ่งระยะทาง ในการว่ายออกเป็น 4 ช่วง ไม่ว่าระยะทางในการว่ายจะเป็นเท่าใดก็ตาม รูปแบบนี้เป็นการผสมผสานหลายๆรูปแบบที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นไว้ด้วยกัน กล่าวคือ นักว่ายน้ำจะเริ่มด้วยการออกนำก่อน เช่นในช่วง 30 วินาทีแรก จะว่ายอย่างเร็วมากเพื่อขึ้นนำในช่วงแรก และเมื่อเข้าช่วงที่สอง ก็จะผ่อนลงเพื่อรักษาพละกำลังไว้ และจะมาค่อยๆเร่งอีกครั้งเมื่อเข้าช่วงที่สาม และเร่งเพิ่มความเร็วขึ้นอีกในช่วงสุดท้ายเพื่อเข้าเส้นชัยในมุมมอง ของคู่แข่งแล้ว นักว่ายน้ำที่ใช้รูปแบบการว่ายที่ว่านี้จะสามารถรักษาตำแหน่งของตัวเองได้ดี และเป็นการยากที่คู่แข่งจะเบียดแซงขึ้นไปได้ เพราะเขาจะเร่งว่ายหนีออกไปอีก เมื่อคู่แข่งเริ่มเข้ามาใกล้ อย่างไรก็ตามนักว่ายน้ำที่จะสามารถทำอย่างนี้ได้ จะต้องมีการฝึกซ้อมและเตรียมตัว มาอย่างดีเยี่ยม
ไม่ว่าคุณจะว่ายเพื่อชัยชนะหรือว่ายเพื่อสร้างสถิติเวลา คุณจะต้องมีการวางแผนและเตรียมการสำหรับแผนนั้นๆ และสุดท้ายก็คือทำให้ได้ตามแผน ไม่ว่าเป้าหมายของคุณคือที่ 1 หรือสร้างสถิติเวลาที่ดีที่สุด คู่แข่งตัวจริงก็คือตัวคุณเอง ส่วนเพื่อนของคุณก็คือการสร้างมโนภาพที่ดี การเตรียมตัวที่ดี